วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรไทย



ช่วง 2-3 ปีมานี้ ลูกสำรองเป็นสมุนไพรไทยยอดฮิตติดอันดับท็อปเทน ถึงขนาดขาดตลาดเป็นบางคราว เพราะเคยมีใบสั่งซื้อจากประเทศจีนอย่างไม่อั้น ทุกวันนี้ลูกสำรองที่ขายอยู่ในท้องตลาดล้วนมาจากแหล่ง ธรรมชาติ ในประเทศไทยเองก็มีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง ตามป่าดงดิบชื้นทางภาคตะวันออกแถบจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด และเนื่องจากสำรองเป็นต้นไม้ป่าขนาดใหญ่ สูงถึง 45 เมตรการ เก็บลูกสำรองจึงเป็นไป ด้วยความยากลำบากมาก จะรอเก็บลูกสำรองที่เลื่อนโล้หล่นปลิวมาตามสายลมก็คงไม่ทันใช้ ชาวบ้านจึงมัก โค่นต้นเพื่อสะดวกในการเก็บลูกสำรองคราวละมากๆ ผลก็คือทำให้ต้นสำรองในป่าธรรมชาติถูกทำลายลง จนกลายเป็นพืชสมุนไพรหายากชนิดหนึ่งในปัจจุบันลูกสำรองมีดีอะไร ทั้งไทยและเทศจึงไฝ่หากันนักหนา สำรองมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scaphium macropodum Beaum. ชื่อเรียกตามพื้นบ้านที่รู้จักกันดี คือ พุงทะลายและท้ายเภา เป้นต้น ที่เรียกว่า พุงทะลาย ก็เพราะเปลือกบางๆที่หุ้มเมล็ดชั้นนอก มีสารเมือกจำนวนมาก เมื่อแช่น้ำจะพองตัวทะลักทลาย ออกมามากมาย มีลักษณะคล้ายวุ้น ส่วนคำว่า ท้ายเภา นั้นกล่อนมาจากคำว่า ท้ายสำเภา เพราะผลของสำรอง มีลักษณะแผ่เป็นแผ่นขนาดใหญ่( ซึ่งตรงกับความหมายในชื่อภาษาอังกฤษว่า macropodum นั้นเอง ) ซึ่งแตกตัวขณะยังอ่อนอยู่ และแตกด้านเดียวเป็นรูปโค้งคล้ายเรือสำเภา เมื่อเหล่าผลสำรองแก่ต้องลมพัดก็ปลิด ปลิวเลื่อนลอยกันไปเป็นพรวน เหมือนกลุ่มสำเภาน้อยล่องลอยตามสายลมสำหรับสรรพคุณทางยาของสำรองนั้นไม่เป็นรองใครเหมือนชื่อ หมอไทยแต่โบราณรู้จักนำทุก ส่วนของสำรองมาใช้ทำยา ดังนี้- ราก รสเฝื่อนเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ไอ แก้ท้องเสีย รักษากามโรค แก้พยาธิผิวหนัง- แก่นต้น รสเฝื่อน แก้โรคเรื้อน แก้กุฏฐัง แก้กามโรค- ใบ รสเฝื่อน แก้พยาธิ แก้ลม- ผลและเมล็ด รสฝาดสุขุม แก้ไข แก้ตานซาง ตานขโมยในเด็ก แก้ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ลม แก้ธาตุพิการ- เปลือกต้น รสเฝื่อน แก้ไข้ แก้ท้องเสียจะ เห็นได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของต้นสำรอง คือ แก้ไอ แก้ไข้ และแก้ท้องเสีย ส่วนสรรพคุณแก้โรคเรื้อน กุฏฐัง โรคผิวหนัง และกามโรค ของรากและแก่นต้นสำรองนั้น น่าจะมีการศึกษาวิจัยในด้านการบรรเทาอาการโรค ผิวหนังในผู้ป่วยเอดส์ต่อไป อย่างไรก็ตาม ส่วนของสำรองที่นิยมใช้ประโยชน์กันในปัจจุบันคือ เมล็ดสำรอง โดยเฉพาะวุ้นที่ได้จากเปลือก หุ้มเมล็ดที่พองตัวเมื่อนำไปแช่น้ำสรรพคุณของวุ้นสำรองและวิธีการใช้- แก้เจ็บคอแก้ไข้ ใช้ลูกสำรองราว 10-20 ลูก ต้มกับชะเอมจีนพอหวานจนได้น้ำยาเข้มข้น จิบน้ำสำรองบ่อยๆ ช่วยแก้ไข้เจ็บคอดีนัก- แก้ไอขับเสมหะ ใช้ลูกสำรองแค่ 3-5 ลูกก็พอ เพียงแช่ลงในน้ำสัก 1 แก้ว จนพองเป็นวุ้นออกมา เติมน้ำตาล กรวดลงไปเพื่อแต่งรสให้หวานตามใจชอบ ดื่มทั้งเนื้อวุ้นและน้ำครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลาก่อนอาหารช่วง ฝนตกทุกวันอย่างนี้ ไข้หวัดกำลังระบาดพร้อมกับอาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ จึงควรหาลูกสำรองมาประจำ บ้านไว้เพื่อทำเครื่องดื่มอุ่นๆ แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เนื่องจากอาการหวัดในหน้าฝนกันเถอะ และใน บางวันที่อากาศร้อนก็สามารถเรียกหาน้ำสำรองดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยให้ใจคอชุ่มชื่น กระปรี้ กระเปร่า ได้ ดีกว่าดื่มชาหรือกาแฟเป็นไหนๆ- แก้ตาอักเสบ เนื่องจากวุ้นสำรองเป็นยาเย็นที่ไม่เป็นอันตรายต่อเยื่อบุอ่อนๆ จึงสามารถนำมาใช้รักษาตาอัก เสบได้ โดยนำผ้าก็อซชุบน้ำพอชุ่มชื้น แล้วนำไปวางทับบนตาที่อักเสบ จากนั้นจึงวางแผ่นเปลือกหุ้มเมล็ดลูก สำรองลงบนผ้าก็อซ เปลือกหุ้มเมล็ดนั้นจะพองตัวเป็นวุ้นแทรกซึมในผ้าก็อซ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บตา ตาอัก เสบอย่างได้ผลมาแล้ว- แก้โรคอ้วน สรรพคุณลูกสำรองที่น้องๆธิดาช้างทั้งหลายควรสนใจ เนื่องจากฤทธิ์ในการระบายของวุ้น สำรองก็ดี หรือ การพองตัวของวุ้นสำรองที่คล้ายกับบุกก็ดี ล้วนเป็นคุณสมบัติสำคัญ แบบทูอินวันของสมุนไพร ลดน้ำหนักอย่างลูกสำรอง ที่ควรจัดเป็นเมนูเครื่องดื่มประจำสำหรับสาวไดเอ็ททั้งหลาย ที่เจาะกลุ่มเป้าหมาย ไปที่สาวๆก็เพราะมีตัวเลขว่าคุณผู้หญิงเป็นโรคอ้วนมากกว่าคุณผู้ชายถึง 2 เท่า เดี๋ยวนี้ความอ้วนไม่ใช่ภาวะ ตุ้ยนุ้ยธรรมดาแล้ว แต่ในทางการแพทย์ถือว่าเป็นภาวะของโรคอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุไปสู้โรคอื่นๆอีกมาก มายที่ทำให้อายุสั้น เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้นน้ำ สำรองจึงเป็นเครื่องดื่มสุขภาพอีกตัวหนึ่ง ซึ่งควรสำรองไว้เป็นทางเลือกสำหรับผู้รักสุขภาพทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม เวลานี้มีการนำวุ้นสำรองมาฟอกสีเพื่อผลิตรังนกเทียมส่งออกไปต่างประเทศ เช่น จีน และ ประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนสมุนไพรไทยโกอินเตอร์ แต่ที่น่าวิตก ก็คือ ลูกสำรองที่ ซื้อขายกันในท้องตลาด นับแต่อดีตจนปัจจุบัน พบว่าชาวบ้านยังใช้วิธีโค่นต้นสำรองเพื่อเก็บลูก ถ้าหากเป็น เช่นนี้ไม่นาน เราก็คงไม่เหลือลูกสำรองลูกสุดท้ายไว้ให้ลูกหลานได้ดูเวลานี้ ทางจีนเองก็พยายามปลูกต้นสำรองไว้ เพื่อการค้าของตนเอง เพราะรู้ว่าสักวันหนึ่งแหล่งสำรองในไทย พม่า กัมพูชา และคาบสมุทรมาลายู คงจะสูญพันธุ์หาทำยายาก ดังนั้นพี่ไทยเองก็ไม่ควรประมาท ทั้งเกษตร ของภาครัฐและภาคประชาชนควารร่วมมือกันหาทางปลูกสำรองแบบไม้โตเร็ว เพื่อการค้าและยุติการทำลาย ต้นสำรองในป่าธรรมชาติ มิฉะนั้นแล้ว สมุนไพรที่มีวุ้นมหัศจรรย์ก็คงจะกลายเป็นเพียงตำนานสำหรับคนรุ่น หลัง และเมื่อถึงวันนั้นเราอาจจะต้องสั่งซื้อลูกสำรองจากประเทศจีนก็เป็นได้
พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย.

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

เศรษฐกิจแบบพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

หลักปรัชญา

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...

— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[1

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัวของ aum

2



ชื่อ อุทัยวรรณ เครือมาด
ชื่อเล่น อั้ม
วันเกิด 24/05/30
ที่อยู่ 49/1 ม.4 ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตาก
จบจาก ร.ร แม่จะเราวิทยาคม
ปัจจุบันศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชฎัชกำแพงเพชร
สัตว์ที่ชอบและรักที่สุด สุนัข
เรื่องเล่าที่แย่ๆ คือ เป็นคนชอบสุนัขมากแต่ไม่รู้ทำไมพอเลี้ยงทีไรไม่หายก็ตายทุกที
คติประจำใจ จะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวทำ จะสูงจะต่ำอยู่ที่ทำตัว ..... โอกาศมันไม่มีขาเราต้องวิ่งไปหามันเอง



เว็บไซต์ที่เข้าชมบ่อย 10 อันดับแรก...ของฉัน

อันดับที่1 http://www.google.com/
อันดับที่2 http://www.hotmail.com/
อันดับที่3 http://www.hi5.com/
อันดับที่4 http://www.yahoo.com/
อันดับที่5 http://www.sanook.com/
อันดับที่6 http://www.kpru.co.th/
อันดับที่7 http://www.ch7.com/
อันดับที่8 http://www.kapook.com/
อันดับที่9 http://www.thaimail.com/
อันดับที่10 http://www.thaiman.com/